วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

คำราชาศัพท์สำหรับพระสงฆ์

ไทยเรามีคำพูดที่ใช้กับพระภิกษุโดยเฉพาะอยู่ประเภทหนึ่งบางทีก็เป็นคำที่พระภิกษุเป็นผู้ใช้เอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมดแล้ว เช่น คำว่า อาตมาภาพ หรืออาตมา มีความหมายเท่ากับ ฉัน บางคำก็ทั้งท่านใช้เองและเราใช้กับท่าน เช่น คำว่า ฉัน หมายถึง กิน เป็นต้น การพูดกับพระภิกษุต้องมีสัมมาคารวะ สำรวม ไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นไปในทำนองพูดเล่นหรือพูดพล่อยๆ ซึ่งจะเป็นการขาดความเคารพไปสำหรับพระภิกษุ เราจำเป็นต้องทราบราชทินนาม เรียกว่า พระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ ของพระภิกษุเรียงลำดับได้ดังนี้ เพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
  1. สมเด็จพระสังฆราช
  2. สมเด็จพระราชาคณะ หรือ ชั้นสุพรรณปัฎ คือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วยคำว่า "สมเด็จพระ"
  3. พระราชาคณะชั้นรอง
  4. พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้า
  5. พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้า
  6. พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ราช" นำหน้า
  7. พระราชาคณะชั้นสามัญ
  8. พระครูสัญญาบัติ , พระครูชั้นประทวน , พระครูฐานานุกรม
  9. พระเปรียญตั้งแต่ 3-9
        การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์อยู่แล้ว.

[แก้ไข] คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ

พระภิกษุที่เป็นพระราชวงศ์ ใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้นแห่งพระราชวงศ์ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์) ใช้ดังนี้
คำขึ้นต้น ใช้ว่า ขอประทานกราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ใช้ราชาศัพท์เสมอพระเจ้าวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม) เช่น
คำขึ้นต้น ใช้ว่า กราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า เกล้ากระหม่อม (สำหรับชาย), เกล้ากระหม่อมฉัน(สำหรับหญิง)
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

สรรพนามบุรุษที่ 1 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
อาตมาพระภิกษุใช้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่หรือมีฐานะตำแหน่งสูงในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ
อาตมาภาพพระภิกษุใช้กับพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป และใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา
เกล้ากระผมพระภิกษุใช้กับพระภิกษุที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์หรือที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า
ผม,กระผมพระภิกษุใช้กับพระภิกษุด้วยกันโดยทั่ว ๆ ไป

สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
มหาบพิตรพระเจ้าแผ่นดิน
บพิตรพระราชวงค์
คุณโยมบิดา, มารดา, ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสสูง
คุณ,เธอใช้กับบุคคลทั่วไป

สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่ฆราวาสใช้
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
พระคุณเจ้าฆราวาสใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ, รองสมเด็จพระราชาคณะ
พระคุณท่านฆราวาสใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมา
ท่านใช้กับพระภิกษุทั่วไป

คำขานรับที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
ขอถวายพระพรพระราชวงค์
เจริญพรฆราวาสทั่วไป
ครับ,ขอรับใช้กับพระภิกษุด้วยกัน

ศัพท์สำหรับพระภิกษุที่พบบ่อย
คำที่ใช้โอกาสที่ใช้
รูปลักษณะนามสำหรับพระภิกษุสงฆ์
อาราธนาขอเชิญ
เจริญพระพุทธมนต์สวดมนต์
ภัตตาหารอาหาร
ประเคนยกของ(ด้วยมือ)ให้พระ
ฉันกิน
ถวายมอบให้
เครื่องไทยธรรมของถวายพระ, ของทำบุญต่าง ๆ
อนุโมทนายินดีด้วย
อาสนะ, อาสน์สงฆ์ที่นั่ง
ธรรมาสน์ที่แสดงธรรม
เสนาสนะสถานที่ที่ภิกษุใช้
จำวัดนอน
สรงอาบน้ำ
มรณภาพตาย
ปลงผมโกนผม
กุฏิเรือนพักในวัด
จำพรรษอยู่ประจำวัด
อุปสมบทบวช (บวชเป็นพระภิกษุ)
บรรพชาบวช (บวชเป็นสามเณร)
ลาสิกขาสึก
คิลานเภสัชยารักษาโรค
ลิขิตจดหมาย
ครองผ้าแต่งตัว
ถวายอดิเรกกล่าวบทอวยพรพระมหากษัตริย์
บิณฑบาตรับของใส่บาตร
ปลงอาบัติแจ้งความผิดให้ทราบ
ปัจจัยเงิน
ทำวัตรสวดมนต์
เผดียงสงฆ์แจ้งให้สงฆ์ทราบ
สุผ้าซักผ้า, ย้อมผ้า
อาพาธป่วย

แครอท ลดมะเร็งปอด

  แครอท เกิดในแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง ออกดอกราวเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม ดอกแตกเป็นชั้นคล้ายร่ม


ชั้นนอกสีชมพู ตรงกลางสีม่วงแดงแครอท เกิดในแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง ออกดอกราว
เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม ดอกแตกเป็นชั้นคล้ายร่ม ชั้นนอกสีชมพู ตรงกลางสีม่วงแดง แครอทสมัยโบราณมีเนื้อแข็ง เสี้ยนเยอะเหมือนไม้ สีของหัวแครอทมีตั้งแต่สีเหลืองไปจนถึงสีม่วง แต่แครอทสีส้มที่รับประทานกันทั่วไป เป็นแครอทที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์เมื่อศตวรรษที่ 18 นี้เอง ในทางยาพบว่าเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอเมริกัน ใช้เป็นยาครอบจักรวาล รักษาได้หลายโรค เช่น แก้โรคประสาท โรคผิวหนัง และหืดหอบ
 
ในปี พ.ศ. 2510 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ได้พบว่าวิตามินเอที่ได้จากสัตว์ สามารถระงับมะเร็งในทางเดินหายใจ ในหนูทดลองได้ แต่ยังไม่มีใครสนใจว่าวิตามินเอที่ได้จากพืช หรือสัตว์จะให้ผลดีกว่ากัน ซึ่งข้อมูลขณะนั้นได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า คนได้รับวิตามินเอจากผักสีเขียว และพืชสีส้มเป็นหลัก วิตามินเอที่ได้รับจากพืชคือ สารเบต้า แคโรทีน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ เมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายมนุษย์
 
ปี พ.ศ. 2524 ริชาร์ด ปีโต และคณะ ได้เขียนบทความลงในนิตยสาร Nature ว่า "จริงๆ แล้ว วิตามินเอไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยับยั้งมะเร็ง 
แต่เป็นสารเบต้า แคโรทีน" จากการทดลองของ ดร. ริชาร์ด เชเคลล์ นักระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยเท็กซัส ก็สนับสนุนความน่าเชื่อถือของข้อมูลนี้ มีการทดลองอีกมากมายเกิดขึ้น
 
แต่ข้อสรุปรวมจากการศึกษาทั้งหมดก็คือ "อาหารที่มีเบต้า แคโรทีน สามารถลดอุบัติการณ์โรคมะเร็งในปอดได้ แม้แต่ในผู้ที่สูบบุหรี่หลายปีแล้วก็ตาม" นอกจากนี้ยังพบว่า คนที่ทานพืชผักที่มีแคโรทีนน้อยที่สุด จะเสี่ยงต่อมะเร็งในปอด เป็นเจ็ดเท่าของคนที่ทานมากที่สุดในกลุ่ม เบต้า แคโรทีนสามารถป้องกัน และยับยั้งมะเร็งในระยะต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากให้กินเบต้า แคโรทีนขนาดสูง พร้อมกับฉายรังสี

http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1463&sub_id=17&ref_main_id=4